ท่อ PPR กรีนไปป์ – ท่อประปาและท่อน้ำร้อนคุณภาพสูง
ท่อ PPR (Polypropylene Random Copolymer) หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ท่อ PPR สีเขียว” คือทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายสำหรับงานระบบประปาและท่อน้ำร้อน ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม รองรับทั้งแรงดันและอุณหภูมิสูง อีกทั้งยังติดตั้งง่าย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้รับเหมาวัสดุก่อสร้างที่ต้องการวัสดุคุณภาพ คุ้มค่า และเชื่อถือได้

ท่อ PPR คืออะไร?
คุณสมบัติและการใช้งานของท่อ PPR กรีนไปป์
ท่อ PPR ผลิตจากวัสดุพลาสติกชนิดพิเศษ Polypropylene Random Copolymer (PPR) มีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงถึง 95°C และรองรับแรงดันได้สูงสุด 20 บาร์ เหมาะสำหรับงานประปาทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น ใช้ได้ทั้งในบ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียม โรงแรม อาคารสูง และโรงงานอุตสาหกรรม โดยท่อชนิดนี้มีอายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี ช่วยลดค่าใช้จ่ายระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ท่อ PPR ยังมีความปลอดภัยในการใช้งานกับน้ำดื่ม เพราะไม่มีสารโลหะหนักหรือสารพิษตกค้าง
ข้อต่อท่อ PPR และระบบการเชื่อม
ท่อ PPR กรีนไปป์สามารถเชื่อมต่อได้ด้วยวิธีความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 250-260°C ทำให้เกิดการหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันที่แน่นหนา ไม่เกิดการรั่วซึมในระยะยาว อีกทั้งยังสามารถเลือกใช้ข้อต่อได้ทั้งแบบเกลียว และแบบหน้าแปลน ซึ่งช่วยให้ติดตั้งร่วมกับระบบสุขาภิบาลอื่น ๆ ได้อย่างสะดวกและยืดหยุ่น การติดตั้งที่ถูกต้องยังช่วยยืดอายุการใช้งานและลดปัญหาในการบำรุงรักษาในอนาคต
ข้อดีของท่อ PPR กรีนไปป์
ราคาคุ้มค่า:
ท่อ ppr กรีนไปป์ มีราคาประหยัด ราคาท่อ PPR เริ่มต้นเพียงเมตรละ 20 บาท เหมาะกับผู้ที่ต้องการ ท่อppr ราคา ที่เข้าถึงง่าย และมีคุณภาพ หาซื้อง่าย ที่ Dohome ทั่วประเทศ
ทนต่อแรงดันและความร้อน:
รองรับแรงดันได้ถึง 20 บาร์ และอุณหภูมิสูงสุด 95°C เหมาะกับระบบน้ำร้อนโดยเฉพาะ
โครงการชั้นนำเลือกใช้:
มีการนำไปใช้มากกว่า 100 โครงการ ทั้งภาครัฐและเอกชน (ดูเพิ่มเติมที่ https://www.greanpipe.com/project-references/)
ติดตั้งสะดวก รวดเร็ว:
ระบบเชื่อมความร้อนไม่ต้องใช้กาว ไม่ต้องรอแห้ง สามารถใช้งานได้ทันที
อายุการใช้งานยาวนาน:
มากกว่า 50 ปี ช่วยประหยัดค่าบำรุงรักษาในระยะยาว
มีบริการอบรมติดตั้งฟรี:
สำหรับผู้รับเหมา ช่าง หรือทีมงานในไซต์งาน มีบริการอบรมโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญถึงหน้างาน

การใช้งานท่อ PPR กรีนไปป์ในระบบต่างๆ
• ท่อน้ำประปา SDR 11 (PN10): เหมาะสำหรับระบบน้ำเย็น หรือน้ำที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 60°C รองรับแรงดันได้ 10 บาร์ นิยมใช้ในบ้านเรือนทั่วไป
• ท่อน้ำร้อน SDR 6 (PN20): เหมาะกับงานระบบน้ำร้อน เช่น เครื่องทำน้ำร้อน โรงงาน หรือบ้านพัก รองรับแรงดันได้ถึง 20 บาร์
• ข้อต่อท่อ PPR: รองรับแรงดันและอุณหภูมิสูง มีทั้งแบบเกลียวและหน้าแปลน ใช้งานร่วมกับระบบอื่นได้ดี
ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์
SDR 11 PN 10
ใช้กับท่อประปา/ ท่อน้ำอุ่น อุณหภูมิ 3-60°C ความดัน 10 บาร์
ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์
SDR 6 PN 20
ใช้กับท่อประปา/ ท่อน้ำร้อน อุณหภูมิ 3-95°C ความดัน 20 บาร์
ขนาดและราคาท่อ PPR กรีนไปป์
หากคุณกำลังมองหา ท่อ ppr หรือ ท่อ ppr ที่ราคาคุ้มค่า กรีนไปป์ ตอบโจทย์แน่นอน เพราะ ราคาท่อPP-R กรีนไปป์ เริ่มต้นเพียง 20 บาทต่อเมตรเท่านั้น และมีขนาดตั้งแต่ 1/2 นิ้ว จนถึง 6 นิ้ว รองรับการใช้งานหลากหลาย โดยเฉพาะ ท่อ ppr ขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว ราคาท่อ PP-R มีราคาถูกกว่าท่อเหล็กชุบสังกะสี เหมาะสำหรับโครงการขนาดกลางถึงใหญ่ เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ทั้งเป็นท่อเมนแนวตั้งและแนวนอน นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ทั้งระบบท่อน้ำร้อนและน้ำเย็น มีอายุการใช้งานที่คุ้มค่าคุ้มราคา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม
ตารางท่อ ppr
SDR 6 | SDR 11 | ||||
ขนาด (นิ้ว) | เส้นผ่านศูนย์กลาง (mm) | ความหนา | ขนาด (นิ้ว) | เส้นผ่านศูนย์กลาง (mm) | ความหนา |
1/2″ | 20 mm | 3.4 | 1/2″ * | 20 mm | 2.3 |
3/4″ | 25 mm | 4.2 | 3/4″ | 25 mm | 2.3 |
1″ | 32 mm | 5.4 | 1″ | 32 mm | 2.9 |
1 1/4″ | 40 mm | 6.7 | 1 1/4″ | 40 mm | 3.7 |
1 1/2″ | 50 mm | 8.3 | 1 1/2″ | 50 mm | 4.6 |
2″ | 63 mm | 10.5 | 2″ | 63 mm | 5.8 |
2 1/2″ | 75 mm | 12.5 | 2 1/2″ | 75 mm | 6.8 |
3″ | 90 mm | 15.0 | 3″ | 90 mm | 8.2 |
4″ | 110 mm | 18.3 | 4″ | 110 mm | 10.0 |
– | – | – | 6″ | 160 mm | 14.6 |
* ท่อขนาด D20 เป็น SDR 9 เพื่อเพิ่มความหนาของท่อ
ท่อ PPR กรีนไปป์: คุณภาพที่คุณวางใจได้
ท่อ PPR กรีนไปป์ ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล เช่น DIN 8077-8078, DIN 16887, ISO/TR 9080 และ ISO 3213 จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัย ทนทาน และเหมาะสำหรับใช้งานในระบบน้ำประปา และระบบน้ำร้อนในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งในบ้าน อาคารสำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม


ท่อ PPR กรีนไปป์ vs ท่อ PVC
ท่อ PPR และท่อ PVC แตกต่างกันอย่างไร?
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ความแตกต่างของท่อพีพีอาร์ และพีวีซี ได้อย่างชัดเจนที่สุด คือ อาคารที่ใช้ท่อพีพีอาร์ ท่อน้ำไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด เนื่องจากความเหนียวของท่อพีพีอาร์ แต่สำหรับท่อพีวีซีที่มีความเปราะ แตกหักง่าย พบว่า ท่อน้ำ และท่อระบายน้ำฝนของหลายอาคารได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
เนื่องจากท่อ PPR ทนทานต่ออุณหภูมิสูงกว่า มีการเชื่อมต่อท่อ และข้อต่อเข้าด้วยกันด้วยความร้อน ดังนั้นท่อ และข้อต่อจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ในขณะที่ พีวีซีต้องใช้กาวในการติดตั้ง แม้จะดูติดตั้งง่าย แต่แน่นอนเช่นกันว่า กาวสามารถเสื่อมสภาพ และเกิดปัญหารั่วซึมได้ง่าย แต่ท่อพีพีอาร์ จะไม่เกิดการรั่วซึม แม้จะใช้งานมาแล้วเป็นระยะเวลายาวนาน
ก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้ท่อสำหรับระบบน้ำในบ้านหรืออาคาร การเข้าใจข้อแตกต่างของวัสดุแต่ละประเภทถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะระหว่างท่อ PPR และท่อ PVC ซึ่งต่างก็มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่ควรพิจารณา การเปรียบเทียบแบบเจาะลึกจะช่วยให้คุณเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน ประหยัดทั้งต้นทุน และยืดอายุการใช้งานของระบบท่อในระยะยาว
รายการเปรียบเทียบ | ท่อ PPR | ท่อ PVC |
การทนความร้อน | สูง (รองรับได้ถึง 95°C) | ต่ำ (รองรับได้ประมาณ 60°C) |
การรับแรงดันน้ำ | สูง (สูงสุด 20 บาร์) | ปานกลาง (ไม่เกิน 13.5บาร์) |
วิธีการเชื่อมต่อ | เชื่อมด้วยความร้อน (fusion welding) | ใช้กาวเชื่อม (solvent cement) |
ความเสี่ยงในการรั่วซึม | ต่ำมาก เพราะหลอมติดเป็นเนื้อเดียวกัน | สูงกว่า เพราะขึ้นอยู่กับคุณภาพกาวและการทากาว |
อายุการใช้งาน | มากกว่า 50 ปี | ประมาณ 15-20 ปี |
ความเหมาะสมในการใช้งานน้ำร้อน | เหมาะสมมาก | ไม่แนะนำให้ใช้งานกับระบบน้ำร้อน |
ความปลอดภัยสำหรับน้ำดื่ม | ปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง | ปลอดภัยแต่มีข้อจำกัด |
ความยืดหยุ่นของท่อ | ยืดหยุ่นสูง ลดความเสียหายจากแรงกระแทก | เปราะ แตกหักง่ายเมื่อโดนแรงกระแทก |
Q&A
Q1: ท่อ PPR ใช้กับน้ำดื่มได้หรือไม่?
A1: ได้เพราะท่อ PPR ไม่มีสารพิษตกค้าง และไม่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนในน้ำประปา
Q2: ท่อ PPR สามารถใช้ในระบบน้ำที่ฝังดินได้หรือไม่?
A2: ได้ โดยควรเลือกความหนาที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการฝังส่วนที่เป็นโลหะโดยตรงลงในพื้นดิน หรือต้องมีการป้องกันการสึกกร่อนด้านนอกก่อน กรณีที่ตากแดดโดยตรง ควรทาสีกัน UV หรือหุ้มผิวท่อเพื่อป้องกันรังสี UV
Q3: หากต้องการเปลี่ยนจากท่อ PVC มาเป็น PPR ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
A3: ท่อระบบประปาทุกชนิดสามารถเชื่อมต่อกันด้วยเกลียวหรือหน้าแปลน ดังนั้น หาจุดต่อดังกล่าวของ PVC ต่อเข้ากับ PPR จากนั้นจึงเชื่อม PPR ด้วยเครื่องเชื่อมต่อไป
Q4: ท่อ ppr ราคาต่อเมตร เท่าไหร่?
A4: ท่อ ppr ราคาต่อเมตร เริ่มต้นที่ 20 บาท/เมตร เท่านั้น
Q5: ท่อ ppr 2 นิ้ว ราคาเทียบกับท่อเหล็กชุบสังกะสี เป็นอย่างไรบ้าง?
A5: ท่อ ppr ขนาด 1/2 นิ้ว ถึง 2 นิ้ว มีราคาถูกกว่าท่อเหล็กชุบสังกะสี