ท่อ PPR กรีนไปป์

ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์
SDR 11 PN 10

ใช้กับท่อประปา/ ท่อน้ำอุ่น อุณหภูมิ 3-60°C ความดัน 10 บาร์

ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์
SDR 6 PN 20

ใช้กับท่อประปา/ ท่อน้ำร้อน อุณหภูมิ 3-95°C ความดัน 20 บาร์

ท่อ PPR คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร

หลายคนอาจสงสัยว่าท่อ PPR คืออะไร ใช้สำหรับงานอะไร ใช้เป็นท่อประปาได้หรือไม่ ทนทานแค่ไหน ท่อ PPR แตกต่างกับท่อสีฟ้า PVC หรือไม่ มีวิธีการติดตั้งอย่างไร และคำถามอื่นๆอีกมากมาย ทางท่อกรีนไปป์ได้เตรียมคำตอบเกี่ยวกับท่อ PPR เพื่อคลายความสงสัยให้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของโครงการที่กำลังดูรายละเอียดวัสดุก่อสร้าง เป็นร้านตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เป็นผู้รับเหมาที่กำลังมองหาท่อคุณภาพไปใช้หน้างาน หรือเป็นผู้ที่กำลังหาข้อมูลสินค้าวัสดุก่อสร้าง อยากทำความรู้จักกับท่อประเภทนี้สามารถอ่านบทความของเราได้เลย

ชื่อเต็มของท่อ PPR

ท่อเขียว หรือท่อ PPR ที่เราใช้เรียกกันบ่อยๆเป็นเพียงชื่อย่อ โดยชื่อเต็มของท่อ PPR มาจาก Polypropylene Copolymer Random คือพลาสติกประเภทโพลีโพรไพลีน ที่มีการจัดเรียงตัวแบบไม่เจาะจง ทำให้ได้คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่ดีขึ้น ทนทาน สะอาดปลอดภัย ความหนาแน่นสูง แสงลอดผ่านไม่ได้ เหมาะสมสำหรับการใช้จ่ายน้ำในงานระบบท่อน้ำประปา หรือการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้เป็นอย่างดี

ท่อ PPR กรีนไปป์ (grean pipe) ใช้เม็ดพลาสติกคุณภาพยุโรปได้รับใบรับรองมาตรฐาน DIN 8077-8078, DIN 16887, ISO/TR 9080, ISO 3213 ไม่ใช้เม็ด recycle ท่อน้ำประปา ขนาด ½”(20 mm) ราคาเมตรละ 20 บาท  ส่วนท่อน้ำร้อน ราคา 35 บาทต่อเมตรเท่านั้น  ซึ่งถือว่าเป็นท่อน้ำร้อนที่ราคาดีที่สุด และสิ่งสำคัญ คือ ท่อและข้อต่อผลิตจากโรงงานเดียวกัน เม็ดพลาสติกชนิดเดียวกัน ทำให้การเชื่อมผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่รั่วซึม หมดปัญหาระยะยาว

ชื่อเต็มของท่อ PPR

ท่อเขียว หรือท่อ PPR ที่เราใช้เรียกกันบ่อยๆเป็นเพียงชื่อย่อ โดยชื่อเต็มของท่อ PPR มาจาก Polypropylene Copolymer Random คือพลาสติกประเภทโพลีโพรไพลีน ที่มีการจัดเรียงตัวแบบไม่เจาะจง ทำให้ได้คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่ดีขึ้น ทนทาน สะอาดปลอดภัย ความหนาแน่นสูง แสงลอดผ่านไม่ได้ เหมาะสมสำหรับการใช้จ่ายน้ำในงานระบบท่อน้ำประปา หรือการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้เป็นอย่างดี ซึ่งงานระบบท่อประปาถือว่าเป็นหัวใจหลักในการลำเลียงน้ำไปยังส่วนต่างๆภายในอาคาร เพื่อจ่ายน้ำสะอาดไปยังห้องของผู้พักอาศัย ผู้ใช้งาน หากท่อประปาที่เลือกใช้ในอาคารได้คุณภาพ ก็จะไม่มีปัญหาการซ่อมแซมในภายหลัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับท่อน้ำ

ท่อ PPR กรีนไปป์ (grean pipe) ใช้เม็ดพลาสติกคุณภาพยุโรปได้รับใบรับรองมาตรฐาน DIN 80778078, DIN 16887, ISO/TR 9080, ISO 3213 ไม่ใช้เม็ด recycle ท่อน้ำประปา ขนาด ½”(20 mm) ราคาเมตรละ 20 บาท  ส่วนท่อน้ำร้อน ราคา 35 บาทต่อเมตรเท่านั้น  ซึ่งถือว่าเป็นท่อน้ำร้อนที่ราคาดีที่สุด และสิ่งสำคัญ คือ ท่อและข้อต่อผลิตจากโรงงานเดียวกัน เม็ดพลาสติกชนิดเดียวกัน ทำให้การเชื่อมผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่รั่วซึม หมดปัญหาระยะยาว

นอกจากเป็นท่อ PPR คุณภาพแล้ว ท่อกรีนไปป์ (grean pipe) ยังแตกต่างจากท่อ PPR ที่นำเข้าจากประเทศจีนทั่วไป คือ มีสต็อกสินค้าอย่างครบถ้วน มีบริการหลังการขาย และที่สำคัญ มีการรับประกันสินค้า จึงไม่ใช่แค่การนำเข้า PPR มาขาย ไม่กี่ตู้ container  แล้วก็หายไปจากตลาด กรีนไปป์ (grean pipe) เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ก้าวเข้าสู่ปีที่ 13 มีโครงการชั้นนำมากมายทั่วไทยเลือกใช้ จึงมั่นใจได้ว่า ท่อกรีนไปป์ไม่ใช่แค่ซื้อมา-ขายไป แต่ยังดูแล เอาใจใส่ ลูกค้าอย่างดีที่สุดทั้งก่อนและหลังการขาย

การใช้งานท่อ PPR

ท่อ ppr

บ้านพักอาศัย หรืออาคารที่ทุกคนกำลังอาศัยอยู่ ภายในนั้นประกอบไปด้วยงานโครงสร้างที่แข็งแรงเพื่อรับน้ำหนัก ด้านความสวยงามก็จะเป็นวัสดุตกแต่งในอาคาร ประตู หน้าต่าง กระเบื้อง เป็นต้น ส่วนที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้อาคารก็จะเป็นงานระบบ(ไฟฟ้าและสุขาภิบาล) ซึ่งท่อ PPR ถือเป็นหนึ่งในส่วนของงานระบบประปา การจ่ายน้ำประปา หรือน้ำสะอาดให้กับอาคาร ดังนั้น ท่อ PPR สามารถใช้งานได้กับหลากหลายอาคาร ไม่ว่าจะเป็นงานบ้านพักอาศัย โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดสูง โรงงาน เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ อาคารสำนักงาน อาคารสูง รีสอร์ท โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยการวางท่อประปาจะต้องได้มาตรฐานของการประปานครหลวง ที่มีปริมาณและความดันของน้ำในท่ออย่างพอเพียง ท่อพีพีอาร์สามารถใช้งานทดแทน ท่อทองแดง ท่อเหล็กได้ เป็นต้น ติดตั้งด้วยเครื่องเชื่อมความร้อน ทำให้ท่อและข้อต่อเป็นเนื้อเดียวกัน

ซึ่งงานระบบท่อประปานั้นประกอบไปด้วยท่อจ่ายหลัก และท่อจ่ายแยกเข้าห้องแต่ละชั้น รวมไปถึงงานติดตั้งข้อต่อประปาชนิดต่างๆ เพื่อติดตั้งเข้ากับเครื่องสุขภัณฑ์ นอกจากสุขภัณฑ์แล้ว ท่อกรีนไปป์มีข้อต่อเกลียวหลากหลาย และระบบหน้าจาน ANSI, JIS, DIN ซึ่งเป็นเกลียวมาตรฐานสากล พร้อมที่จะต่อท่อ PPR เข้ากับท่อกับประเภทอื่นๆได้ทุกชนิด เพื่อให้เกิดการใช้งานที่เหมาะสม และสามารถใช้งานระบบท่อประปาในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ท่อ PPR กับงานท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน ท่อน้ำอุ่น

ท่อ ppr

การใช้งานประเภทแรก คือ ใช้กับท่อน้ำดี หรือท่อน้ำเย็น เพื่อการอุปโภคและบริโภคที่อุณหภูมิ 3 – 60 °C ความดัน 10 บาร์ โดยมีชื่อรุ่น PP-R Pipe SDR 11 PN 10

การใช้งานประเภทอีกประเภท คือ ท่อน้ำร้อน แนะนำรุ่น PP-R Pipe SDR 6 PN 20 เรามาทำความเข้าใจระบบท่อน้ำร้อน ระบบทำน้ำอุ่นภายในอาคารกันก่อน ผู้ใช้งานฟังผ่านๆเราอาจจะเข้าใจว่าเป็นระบบที่ไม่ต่างกันมากนัก เป็นการทำให้น้ำอุณหภูมิสูงขึ้นเหมือนๆกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว 2 ระบบนี้มีความแตกต่างกันอยู่มาก ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้ การเดินงานระบบ และการใช้งาน เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้ไปพร้อมกัน

ระบบท่อน้ำร้อนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทง่ายๆ ดังนี้

  • น้ำร้อนที่มาจากเครื่องทำน้ำอุ่น เกิดจากการที่น้ำเย็นไหลผ่านท่อ ซึ่งส่วนใหญ่คือท่อทองแดงที่ขดตัวไปมาภายในเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนั้น การเดินงานท่อคือจะเป็นการต่อท่อน้ำเย็น หรือสายอ่อนเข้าเครื่องได้เลย ไม่จำเป็นต้องเดินท่อน้ำร้อน แต่ข้อสำคัญของเครื่องทำน้ำอุ่นเลยก็คือ ติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันจากการโดนไฟดูด
  • น้ำร้อนที่มากจากหม้อต้ม หรือระบบพลังงานแสงอาทิตย์* ซึ่งต้องเดินท่อเพื่อจ่ายน้ำร้อนให้กับอ่างอาบน้ำ หรือ Rain shower ซึ่งมักมีอุณหภูมิ 60 °C ขึ้นไป จะเป็นการไหลผ่านหม้อต้ม ก่อนจะจ่ายน้ำร้อนไปตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร เช่น ก๊อกผสมเพื่อน้ำร้อนและน้ำเย็น สำหรับต้องการปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรืองานระบบที่ต้องการความร้อนที่ค่อนข้างคงที่ จึงจำเป็นต้องใช้ระบบท่อน้ำร้อนที่รองรับอุณหภูมิที่สูงได้ ซึ่งการวางท่อน้ำร้อนภายในอาคาร เพื่อจ่ายไปยังจุดต่างๆเพื่อการใช้งาน ต้องเป็นตามข้อบังคับความปลอดภัย โดยมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องทำน้ำร้อน

*สอบถามข้อมูลเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมจากผู้จัดจำหน่าย

ท่อ PPR กับงานท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน ท่อน้ำอุ่น

ท่อ ppr

การใช้งานประเภทแรก คือ ใช้กับท่อน้ำดี หรือท่อน้ำเย็น เพื่อการอุปโภคและบริโภคที่อุณหภูมิ 3 – 60 °C ความดัน 10 บาร์ โดยมีชื่อรุ่น PP-R Pipe SDR 11 PN 10

การใช้งานประเภทอีกประเภท คือ ท่อน้ำร้อน แนะนำรุ่น PP-R Pipe SDR 6 PN 20 เรามาทำความเข้าใจระบบท่อน้ำร้อน ระบบทำน้ำอุ่นภายในอาคารกันก่อน ผู้ใช้งานฟังผ่านๆเราอาจจะเข้าใจว่าเป็นระบบที่ไม่ต่างกันมากนัก เป็นการทำให้น้ำอุณหภูมิสูงขึ้นเหมือนๆกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว 2 ระบบนี้มีความแตกต่างกันอยู่มาก ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้ การเดินงานระบบ และการใช้งาน เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้ไปพร้อมกัน

ระบบท่อน้ำร้อนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทง่ายๆ ดังนี้

  • น้ำร้อนที่มาจากเครื่องทำน้ำอุ่น เกิดจากการที่น้ำเย็นไหลผ่านท่อ ซึ่งส่วนใหญ่คือท่อทองแดงที่ขดตัวไปมาภายในเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนั้น การเดินงานท่อคือจะเป็นการต่อท่อน้ำเย็น หรือสายอ่อนเข้าเครื่องได้เลย ไม่จำเป็นต้องเดินท่อน้ำร้อน แต่ข้อสำคัญของเครื่องทำน้ำอุ่นเลยก็คือ ติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันจากการโดนไฟดูด
  • น้ำร้อนที่มากจากหม้อต้ม หรือระบบพลังงานแสงอาทิตย์* ซึ่งต้องเดินท่อเพื่อจ่ายน้ำร้อนให้กับอ่างอาบน้ำ หรือ Rain shower ซึ่งมักมีอุณหภูมิ 60 °C ขึ้นไป จะเป็นการไหลผ่านหม้อต้ม ก่อนจะจ่ายน้ำร้อนไปตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร เช่น ก๊อกผสมเพื่อน้ำร้อนและน้ำเย็น สำหรับต้องการปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรืองานระบบที่ต้องการความร้อนที่ค่อนข้างคงที่ จึงจำเป็นต้องใช้ระบบท่อน้ำร้อนที่รองรับอุณหภูมิที่สูงได้ ซึ่งการวางท่อน้ำร้อนภายในอาคาร เพื่อจ่ายไปยังจุดต่างๆเพื่อการใช้งาน ต้องเป็นตามข้อบังคับความปลอดภัย โดยมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องทำน้ำร้อน

*สอบถามข้อมูลเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมจากผู้จัดจำหน่าย

คุณสมบัติที่โดดเด่นของท่อพีพีอาร์ ก็คือความสามารถในการใช้งานร่วมกับน้ำที่มีอุณหภูมิสูงอย่างน้ำร้อนได้ถึง 95°C ทนทาน ไม่เปราะ ไม่ย้วยเหมือนกับท่อ PVC ซึ่งการมาของท่อ PPR ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกกับการใช้งานระบบท่อน้ำร้อนได้อย่างตอบโจทย์ ทางคุณภาพ และราคา เพราะก่อนหน้านั้นท่อที่จะได้รับความนิยมในการใช้งานระบบท่อน้ำร้อนก็คือท่อเหล็ก แข็งแรง ทนทาน แต่ก็ต้องแลกกับน้ำหนักที่เยอะ ยากสำหรับขนส่งเคลื่อนย้าย และการติดตั้งหน้างาน ประเด็นสำคัญที่สุดคือมีโอกาสเกิดสนิมในท่อน้ำเมื่อใช้งานไปนานๆ เรียกได้ว่าท่อพีพีอาร์ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่จะใช้กับงานระบบท่อน้ำร้อน

นอกเหนือจากงานระบบประปา ท่อพีพีอาร์ยังสามารถใช้กับงานระบบอื่นๆได้อีกด้วย ได้แก่ ระบบท่อลม (Chiller) ระบบท่อน้ำสำหรับสระว่ายน้ำ ระบบท่อสำหรับน้ำกลั่น ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ชมภาพโครงการที่เลือกใช้ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์ ได้ที่นี่

จุดเด่นของท่อ PPR กรีนไปป์ที่น่าสนใจ

  1. การเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ท่อทั้งบ้านเชื่อมต่อกันเป็นชิ้นงานเดียวจนถึงทางน้ำออก หมดกังวลเรื่องการรั่วซึมแนวข้อต่อ ที่กาวหรือน้ำยาประสานท่ออาจเสื่อมหลังการใช้งานไปซักระยะหนึ่ง
  2. ทนแรงดันสูง โดยปกติแล้วปั๊มตามบ้านพักอาศัยจะมีแรงดันอยู่ที่ 4บาร์ ท่อ PPR กรีนไปป์ทนแรงดันได้มากกว่า 10 บาร์ (คลิกอ่านรายละเอียดอัตราการไหลของน้ำ)
  3. ทนความร้อนสูง ท่อ PPR ใช้งานในอุณหภูมิระหว่าง 3-95 องซาเซลเซียส (โปรดดูรายละเอียดฯ) สามารถใช้กับเครื่องทำน้ำร้อน หรือ เครื่องต้มน้ำร้อนได้
  4. พลาสติก Food Grade พลาสติก PPR เป็นพลาสติกเกรดเดียวกับที่ใช้สัมผัสอาหารเหมาะสำหรับการนำมาใช้ทำท่ออุปโภค บริโภค ปลอดสารก่อมะเร็งที่จะเข้ามาเจือปนในน้ำ
  5. ราคาท่อ PPR กรีนไปป์ ราคาคุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบกับ PPR มาตรฐานเดียวกัน เกรดเดียวกัน
  6. วิธีการติดตั้ง เชื่อมด้วยเครื่องเชื่อมความร้อน ทำให้ท่อและข้อต่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่รั่วซึม

ในกรณีไม่มีเครื่องเชื่อมจะทำยังไง – เครื่องเชื่อม PPR กรีนไปป์เริ่มต้นที่ราคาเพียง 1,550 บาท ใช้งานได้ยาวนาน ไม่ต้องใช้กาวหรือน้ำยาประสานท่อเหมือนท่อ PVC

ท่อ PPR กับท่อ PVC ต่างกันอย่างไร

เมื่อพูดถึงการใช้งานของท่อพีพีอาร์กันไปแล้ว เราจะเปรียบกันให้เห็นชัดๆระหว่าง ท่อ PPR และ ท่อ PVC ที่ดูผิวเผินก็เป็นท่อสำหรับงานประปาเหมือนกัน ใช้ในการลำเลียงน้ำไปยังจุดต่างๆของอาคารเหมือนกัน แต่ถ้าลงรายละเอียดจะพบความแตกต่างอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการติดตั้ง การใช้งานกับอุณหภูมิสูง คุณภาพของวัสดุ อายุการใช้งาน ทางกรีนไปป์จึงได้เปรียบเทียบคุณสมบัติของท่อ 2 แบบไว้ตามข้อมูลด้านล่าง

วิธีการติดตั้งท่อ PPR

วิธีการติดตั้งท่อ PVC

ท่อพีพีอาร์ ติดตั้งโดยใช้เครื่องเชื่อม ให้ความร้อนผิวท่อและข้อต่อ เพื่อประสานเป็นเนื้อเดียวกัน

ท่อ PVC ใช้กาวเชื่อมในการประสานท่อและข้อต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งการใช้กาวอาจจะทำให้เกิดการรั่วซึมในภายหลัง

คุณภาพวัสดุท่อ PPR

คุณภาพวัสดุท่อ PVC

มีความหยุ่นเหนียว ไม่แตกหัก เมื่อโดนเหยียบหรือโดนกระแทก

ลักษณะท่อเปราะแตกง่าย เมื่อโดนเหยียบ ไม่ทนต่อแรกกระแทก

อายุการใช้งานท่อ PPR

อายุการใช้งานท่อ PVC

มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 50 ปี (โปรดดูรายละเอียดฯ) ด้วยการติดตั้งแบบเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน อายุการใช้งานที่ยาวกว่า

ขึ้นอยู่กับอายุกาวและการติดตั้ง ซึ่งยังมีการเสื่อมสภาพได้ หากได้รับแสงอุลตร้าไวโอเลทที่มากับแดดเป็นเวลานาน

ระบบน้ำร้อนกับท่อ PPR

ระบบน้ำร้อนกับท่อ PVC

ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์ รุ่นคาดแดง สามารถใช้งานกับระบบน้ำร้อน อุณหภูมิสูงสุด 95 °C* (โปรดดูรายละเอียดฯ)

ใช้งานกับท่อน้ำร้อนไม่ได้ เพราะผู้ผลิตระบุไว้ว่าผู้ผลิตระบุว่าใช้ได้ไม่เกิน 60 °C

ท่อ PPR กับท่อ PVC ต่างกันอย่างไร

เมื่อพูดถึงการใช้งานของท่อพีพีอาร์กันไปแล้ว เราจะเปรียบกันให้เห็นชัดๆระหว่าง ท่อ PPR และ ท่อ PVC ที่ดูผิวเผินก็เป็นท่อสำหรับงานประปาเหมือนกัน ใช้ในการลำเลียงน้ำไปยังจุดต่างๆของอาคารเหมือนกัน แต่ถ้าลงรายละเอียดจะพบความแตกต่างอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการติดตั้ง การใช้งานกับอุณหภูมิสูง คุณภาพของวัสดุ อายุการใช้งาน ทางกรีนไปป์จึงได้เปรียบเทียบคุณสมบัติของท่อ 2 แบบไว้ตามข้อมูลด้านล่าง

วิธีการติดตั้งท่อ PPR

วิธีการติดตั้งท่อ PVC

ท่อพีพีอาร์ ติดตั้งโดยใช้เครื่องเชื่อม ให้ความร้อนผิวท่อและข้อต่อ เพื่อประสานเป็นเนื้อเดียวกัน มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหารั่วซึมในภายหลัง

ท่อ PVC ใช้กาวเชื่อมในการประสานท่อและข้อต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งการใช้กาวอาจจะทำให้เกิดการรั่วซึมในภายหลัง

คุณภาพวัสดุท่อ PPR

คุณภาพวัสดุท่อ PVC

มีความหยุ่นเหนียว ไม่แตกหัก เมื่อโดนเหยียบหรือโดนกระแทก

ลักษณะท่อเปราะแตกง่าย เมื่อโดนเหยียบ ไม่ทนต่อแรกกระแทก

อายุการใช้งานท่อ PPR

อายุการใช้งานท่อ PVC

มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 50 ปี ด้วยการติดตั้งแบบเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวกว่า อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหารั่วซึม และแสงไม่ลอดผ่าน

ขึ้นอยู่กับอายุกาวและการติดตั้ง ซึ่งยังมีการเสื่อมสภาพได้ หากได้รับแสงอุลตร้าไวโอเลทที่มากับแดดเป็นเวลานาน

ระบบน้ำร้อนกับท่อ PPR

ระบบน้ำร้อนกับท่อ PVC

ท่อพีพีอาร์ กรีนไปป์ รุ่นคาดแดง สามารถใช้งานกับระบบน้ำร้อน อุณหภูมิสูงสุด 95 °C

ใช้งานกับท่อน้ำร้อนไม่ได้ เพราะผู้ผลิตระบุไว้ว่าผู้ผลิตระบุว่าใช้ได้ไม่เกิน 60 °C

หากลงรายละเอียด ทำความเข้าใจกับการเลือกใช้ท่อ จะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างโดยสิ้นเชิง และยิ่งไปกว่านั้น หากเป็นการเลือกซื้อบ้าน คอนโด อาคารชุด จะทำให้รู้ว่าวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นตัวบ่งบอกต้นทุน และเกรดของบ้าน คอนโด ที่คุณจะซื้อได้เป็นอย่างดี การรู้และเข้าใจในเรื่องท่อเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ

แม้ว่างานระบบประปาจะมีการทดสอบหารอยรั่วก่อนเปิดใช้งานอาคาร แต่ปัญหางานท่อประปามักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ซึ่งสาเหตุที่เกิดการรั่วซึมขึ้นจะเป็นเรื่องการติดตั้งท่อไม่เรียบร้อย การใช้งานปั๊มที่มีแรงดันสูง ทำให้ท่อประปาแตกได้ กลายเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการซ่อมแซมในอนาคต

วิธีการติดตั้งท่อ PPR

ท่อ ppr

ขั้นตอนการติดตั้งของท่อ PPR ตามหลักมาตรฐานท่อประปาไม่ว่าจะชนิดไหนก็ตาม ท่อที่ต่อหรือเชื่อมเข้าด้วยกัน ตรงรอยต่อต้องมีความหนาและแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของท่อเอง และแรงดันน้ำภายในท่อได้ปลอดภัย ไร้ปัญหารั่วซึม ตรงนี้ท่อพีพีอาร์สามารถทำให้คุณมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาการรั่วในภายหลัง ด้วยวิธีการติดตั้งด้วยเครื่องเชื่อม เป็นเนื้อเดียวกัน และเมื่อคุณเป็นลูกค้าของกรีนไปป์ ทางทีมงานของเราจะให้บริการอบรมเกี่ยวกับท่อพีพีอาร์ และให้คำปรึกษาฟรี

วิธีการติดตั้งท่อ PPR

ท่อ ppr

ขั้นตอนการติดตั้งของท่อ PPR ตามหลักมาตรฐานท่อประปาไม่ว่าจะชนิดไหนก็ตาม ท่อที่ต่อหรือเชื่อมเข้าด้วยกัน ตรงรอยต่อต้องมีความหนาและแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของท่อเอง และแรงดันน้ำภายในท่อได้ปลอดภัย ไร้ปัญหารั่วซึม ตรงนี้ท่อพีพีอาร์สามารถทำให้คุณมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาการรั่วในภายหลัง ด้วยวิธีการติดตั้งด้วยเครื่องเชื่อม เป็นเนื้อเดียวกัน และเมื่อคุณเป็นลูกค้าของกรีนไปป์ ทางทีมงานของเราจะให้บริการอบรมเกี่ยวกับท่อพีพีอาร์ และให้คำปรึกษาฟรี

ขั้นการตอนติดตั้งท่อพีพีอาร์ ดังนี้

  1. ใช้กรรไกรตัดท่อตามระยะที่ต้องการ
  2. ทำเครื่องหมายด้วยแผ่นวัดระยะ (Marker) ตามช่องที่ระบุขนาดของท่อ
  3. เมื่อเครื่องเชื่อมพีพีอาร์เปลี่ยนจากไฟสีแดงเป็นไฟสีเขียว อุณหภูมิ 250-260 °C ให้นำท่อพีพี-อาร์และข้อต่อพีพี-อาร์ หลอมให้ความร้อน โดยสอดท่อเข้าไปในหัวเชื่อมให้ลึกจนถึงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ ให้ความร้อนตามเวลาที่ระบุบนเส้นท่อ หรือตารางการให้ความร้อน

ข้อควรระวัง : ให้ทำความสะอาดท่อและข้อต่อบริเวณที่จะทำการเชื่อมอย่าให้มีเศษผงหรือสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ อีกทั้งอย่าดันท่อเข้าไปในหัวเชื่อมเกินกว่า ตำแหน่งทำเครื่องหมายไว้

  1. ดึงท่อและข้อต่อออกจากหัวเชื่อม แล้วสอดท่อและข้อต่อเชื่อมเข้าหากันภายในเวลาที่กำหนดของแต่ละขนาด ทิ้งไว้ให้เย็นก็สามารถเริ่มใช้น้ำได้ทันที (เวลาในการทำงานให้ดูตามตารางเวลาให้ความร้อน)

ข้อควรระวัง : ในช่วงที่ดันท่อกับข้อต่อเข้าด้วยกัน หลังจากหลอมแล้วสามารถจัดหรือขยับท่อให้ตรงได้แต่ไม่ควรบิดหมุนท่อ

จุดเด่นของท่อกรีนไปป์ ระบุเวลาในการให้ความร้อนไว้ทุกเส้นจึงติดตั้งง่าย (ได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสิทธิบัตร)

การติดตั้งข้อต่ออานม้า

ติดตั้งท่อ ppr

การเพิ่มเส้นทางของท่อน้ำขึ้นมาใหม่ อาจยุ่งยากในการรื้อเปลี่ยนท่อใหม่ แต่เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยง่ายเพียงเจาะรูที่ท่อเมน และใช้ข้อต่ออานม้าในการเชื่อมต่อท่อสาขาออกมาได้เลย

กรณีที่ต้องการเพิ่มทางเดินท่อสาขาออกจากท่อเมน สามารถติดตั้งข้อต่ออานม้าโดยมีวิธีการดังนี้

  1. เจาะรูบนท่อเมน บริเวณที่ต้องการ ด้วยหัวเจาะอานม้า (ขนาด D25, D32, D40)
  2. เลือกข้อต่ออานม้าและหัวเชื่อมอานม้ารุ่นที่ต้องการ เช่น ต้องการเพิ่มทางท่อน้ำ 90 มม. ให้ทางออกของน้ำเป็น 25 มม. ควรเลือกข้อต่ออานม้าและหัวเชื่อมอานม้าให้มีขนาดที่ตรงกัน
  3. ประกอบหัวเชื่อมอานม้ากับเครื่องเชื่อม PP-R
  4. ให้ความร้อนแก่ผิวท่อเป็นเวลา 30 วินาที โดยให้ผิวโค้งของหัวเชื่อมอานม้าโค้งตามท่อ เมื่อครบ 30 วินาทีให้ความร้อนข้อต่ออานม้า พร้อมๆกับท่อ ต่ออีก 12 วินาที
  5. เมื่อครบ 42 วินาที ให้นำข้อต่ออานม้า กดลงบนท่อในมุมที่ข้อต่อโค้งรับผิวท่อ กดให้แน่น อย่างน้อย 20 วินาที จึงปล่อยมือได้

วิธีการซ่อมรูรั่วบนท่อ PPR กรีนไปป์

ท่อพีพีอาร์
  1. ใช้สว่านเจาะขยายรูรั่วให้ได้เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มม.
  2. กำหนดความลึกของ หัวเชื่อมแท่งซ่อมตามความหนาของท่อนั้นๆ เพื่อไม่ให้เชื่อมลึกเกินไปจนกีดขวางทางน้ำ
  3. ให้ความร้อนกับตัวท่อก่อน จากนั้นเมื่อเหลือ 5 วินาที ให้นำแท่งซ่อมใส่เข้ากับหัวเชื่อมแท่งซ่อมเพื่อให้ความร้อนตามตาราง
  4. นำแท่งซ่อมที่ให้ความร้อนแล้ว อุดลงในรอยรั่ว แล้วปล่อยให้เย็นตัวลง
  5. ตัดปลายแท่งซ่อมส่วนที่เหลือออก

ระยะการติดตั้งซัพพอร์ท

ในการออกแบบระยะการติดตั้งซัพพอร์ทของท่อกรีนไปป์ ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิห้อง และอุณหภูมิของน้ำ หรือของเหลวที่ไหลผ่านท่อในการใช้งานจริงด้วย กรีนไปป์จึงได้รวบรวมเงื่อนไขไว้ ดังนี้

  • กรณีเดินท่อเมน และต่อท่อสาขา จะต้องมีซัพพอร์ทรัดที่ใต้ข้อต่อตัวนั้นๆ
  • กรณีที่มีการเปลี่ยนทิศทางของท่อ มีการต่อด้วยหน้าแปลน หรือวาล์ว จะต้องมีซัพพอร์ทรัดในจุดที่ใกล้ข้อต่อที่สุด
  • กรณีที่เดินท่อน้ำร้อน ต้องพิจารณาในการทำ Expansion Loop และต้องกำหนดจุดรับซัพพอร์ทแบบแน่น (Fixed Point) และจุดรัดซัพพอร์ทแบบขยับได้ (Sliding Point) เพื่อรองรับการยืดตัว ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
    สำหรับท่อแนวนอน SDR 6 พิจารณาจากการทำ Expansion Loop ที่ความยาวท่อ 10 เมตรขึ้นไป แต่ในกรณีท่อแนวตั้งไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Expansion Loop
  • กรณีใช้ท่อกรีนไปป์ กับระบบท่อน้ำร้อน เช่น Heat Exchanger, Boiler, Solar Cell จะติดตั้งวาล์วระบายอากาศ (Air Release Valve) ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเพิ่มแรงดัน และอุณหภูมิอย่างเฉียบพลัน ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
  • ในการติดตั้งห้ามดัด/ งอ/ โค้ง ท่อโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้ หากจำเป็นต้องเดินท่อในแนวโค้งควรใช้ข้องอ 45

เครื่องเชื่อมท่อ PPR จากกรีนไปป์ คุณภาพคุ้มราคา

เครื่องเชื่อมท่อ ppr

เงิน 1,550 บาทของแต่ละคน มีค่าไม่เท่ากัน สำหรับบางคนซื้อกาแฟ ได้ 10 แก้ว แต่สำหรับบางคน มีค่ามากกว่านั้น สำหรับกรีนไปป์ เงิน 1,550 บาท สำหรับเรามีค่ามาก เพราะมันกลับสร้างอาชีพ หน้าที่การงานได้ และต่อยอดสร้างโอกาสให้กับอีกหลายๆชีวิตที่ต้องทำงาน

เครื่องเชื่อมท่อพีพีอาร์ ขนาด 20-32 mm( ½”-1” ) พร้อมหัวเชื่อมครบชุด ราคาเริ่มต้นที่ 1,550 บาท หากไม่มีประสบการณ์ ในการติดตั้ง เราพร้อมสอนการติดตั้ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะเราเชื่อว่าสินค้าดี ไม่จำเป็นต้องแพงเกินไป แต่ต้องเป็นราคาที่ทุกคนจับต้องได้ เพื่อให้ท่อ PPR ได้ใช้งานในวงกว้าง และสร้างประโยชน์ให้กับการก่อสร้างต่อไป

กรีนไปป์…ท่อพีพีอาร์ คุณภาพยุโรป

  • ระบบเชื่อมสอดเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่รั่วซึม
  • มีข้อต่อหลากหลายกว่า 200 ชนิด
  • ใช้ได้ทั้งระบบน้ำร้อน น้ำประปา Chilled Water และอื่นๆ
  • ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากยุโรป DIN 8077-8078, DIN 16887, ISO/TR 9080, ISO 3213
  • มีเวลาบนเส้นท่อ ป้องกันปัญหาท่อตันจากการหลอมท่อ และข้อต่อนานเกินไป (เวลาในการเชื่อมบนเส้นท่อ ได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสิทธิบัตร)
  • ผ่านการรับรองมาตรฐานจากยุโรป และมาตรฐานความสะอาดจาก RCC ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใช้เป็นท่อน้ำดื่ม เพื่อการอุปโภคและบริโภคได้
  • ท่อและข้อต่อ ผลิตจากโรงงานเดียวกัน จึงติดตั้งง่าย ผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์